Last updated: 23 พ.ค. 2567 | 487 จำนวนผู้เข้าชม |
เครื่องวัดความดันโลหิตแบบสอดแขนหากมีการใช้งานให้ถูกวิธีจะสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานได้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับส่วนของอะไหล่ที่เป็นถุงลม ที่หากมีการใช้งานผิดวิธีอาจทำให้ถุงลมรั่วได้ ซึ่งเป็นส่วนที่มีโอกาสเสียมากที่สุดถ้าเทียบกับส่วนประกอบอื่น ๆ
1. ประกอบผ้าหุ้มแขนในตัวเครื่องให้ถูกต้องตามคำแนะนำจากผู้ผลิต
ปกติแล้วเครื่องวัดความดันโลหิต จะมีผ้ารองแขนที่คอยหุ้มโครงเครื่องในช่องอุโมงค์ Cuff (ข้างใน Cuff จะเป็นถุงลม, Cuff มีหน้าที่ในการปกป้องถุงลม (Air Chamber/ Air Bag))
สำหรับในข้อนี้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต แต่โดยส่วนใหญ่ ผ้าหุ้มแขนจะถูกติดตั้งไว้กับโครงเครื่อง ซึ่งหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าตัวผ้าหุ้มแขนต้องหุ้มกับ Cuff และเมื่อใช้งานไปนาน ๆ โดยมีการติดตั้งผิดวิธี อาจทำให้ ผ้าหุ้มแขนถูกดูดเข้าไปพร้อม จนทำให้ในท้ายที่สุดผ้าหุ้มแขนไปบีบรัดถุงลมที่อยู่ภายใน Cuff จนอาจก่อให้เกิดการรั่วได้
วิธีหลีกเลี่ยง : หมั่นตรวจเช็คผ้าหุ้มแขนอยู่เสมอว่ามีการติดตั้งถูกวิธีหรือไม่ โดยถึงแม้ว่าในตอนแรกการติดตั้งจะถูกวิธี ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถละเลยได้ เนื่องจากเครื่องตรวจความดันโลหิตสอดแขนที่ถูกติดตั้งไม่ว่าจะเป็นในโรงพยาบาลหรือคลินิก มีการใช้งานจากผู้คนเป็นจำนวนมาก ซึ่งในการใช้งานไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เกิดการคาดเคลื่อนของผ้าหุ้มแขน ดังนั้นควรมีการหมั่นตรวจเช็คทุก ๆ 2-3 วัน หรือหากเป็นไปได้ ถ้าสามารถตรวจเช็คทุกวันหลังจากที่มีการใช้งานเครื่องเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะยิ่งเป็นการดี
2. วางเครื่องวัดความดันโลหิตสอดแขนในสถานที่ที่ไม่อับชื้น, โดนแสงแดดส่องโดยตรง หรืออยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด
หากเป็นไปได้ควรมีการติดตั้งเครื่องวัดความดันโลหิตในที่ที่มีอุณหภูมิที่ไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัด, สถานที่มีความชื้นสูง และไม่โดนแสงแดดส่องโดยตรง
ที่ต้องใช้คำว่า “หากเป็นไปได้” เพราะว่าในบางครั้งอาจมีความจำเป็นที่จะต้องนำเครื่องวัดความดันโลหิตสอดแขนออกใช้งานนอกสถานที่ ในกลางแจ้ง เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยหากมีความจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็สามารถทำได้ แต่ไม่ควรใช้งานนอกสถานที่ทุกวัน
ทำไมถึงไม่ควรให้เครื่องวัดความดันโลหิตสอดแขนให้โดนกับแสงแดดโดยตรง ?
อาจก่อให้เกิดผลเสียหลายประการเช่น การที่เครื่องโดนกับความร้อนเนื่องจากหากโดนแสงแดดส่องกระทบโดยตรงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้อุปกรณ์อิเล็คโทรนิคส์ภายในเครื่องอาจเกิดการเสื่อมสภาพได้
3.มีการ Maintenance เครื่องอย่างสม่ำเสมอ
อุปกรณ์การใช้ไฟฟ้า, เครื่องมือแพทย์ หรือไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ใด ๆ ก็ตาม ล้วนต้องการการดูแลเอาใจใส่ตัวเครื่องอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีการ Maintenance มีหลายวิธี ตั้งแต่
3.1 ทำความสะอาดตัวเครื่อง
ทำความสะอาดผ้าหุ้มแขน, ที่รองแขน, ตัวเครื่อง อย่างสม่ำเสมอ
3.2 ตรวจสอบสภาพการใช้งานเครื่อง
หากมีการตรวจสอบสภาพการใช้งานเครื่องอย่างเป็นประจำ จะทำให้ทราบถึงปัญหาได้เร็ว และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ ก่อนที่เครื่องจะเสียหายไปมากกว่าเดิม โดยหากตรวจพบความผิดปกติ ให้ติดต่อหาผู้จัดจำหน่าย เพื่อขอคำแนะนำและวิธีการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น
4.มีการสอบเทียบเครื่องอย่างสม่ำเสมอ
ควรมีการสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ทุก ๆ 1-2 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าตัวเครื่องมีสภาพที่พร้อมใช้งาน และได้ผลการวัดที่ถูกต้อง
สรุป
เครื่องวัดความดันโลหิตสอดแขนควรได้รับการดูแลรักษา, ใช้งาน, ติดตั้งให้ถูกวิธี และมีการหมั่นตรวจเช็คสภาพเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของตัวเครื่องได้
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หากท่านใดสนใจเครื่องวัดความดันโลหิต (BP Monitor) สามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องวัดความดันโลหิต (BP Monitor)
หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter
19 มิ.ย. 2567
14 ธ.ค. 2566
30 พ.ค. 2567
19 เม.ย 2567