Last updated: 24 พ.ย. 2565 | 1507 จำนวนผู้เข้าชม |
Ambulatory Blood Pressure Monitor (ABPM) การวัดความดันโลหิตแบบ 24 ชั่วโมง
คือการวัดความดันในขณะที่เราใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ 24 ชั่วโมง ซึ่งเครื่องดังกล่าวจะเป็นเครื่องที่ติดอยู่ตรงช่วงส่วนบนของแขน ซึ่งตัวเครื่องไม่ได้มีขนาดใหญ่ จึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความยากลำบากในการใช้ชีวิตมากนัก ซึ่งนอกจากนี้ยังสามารถนอนขณะที่สวมเครื่องนี้ได้ด้วย
ประโยชน์ของการวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมง
จากการวัดความดันโลหิตในระหว่างวันตลอดจน 24 ชั่วโมง จะทำให้คุณหมอได้รับค่าความดันที่แม่นยำ และสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากอาจมีบางกรณีที่บางกลุ่มสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรค White Coat Syndrome หรือ Masked Hypertension ซึ่งการมีข้อมูลส่วนนี้สามารถจะสามารถช่วยคุณหมอในการวินิจฉัยอาการของท่านได้อย่างถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น
ทำไมคุณถึงต้องใช้เครื่องนี้?
- เพื่อทำให้คุณหมอได้มีข้อมูลเพียงพอที่จะสามารถวินิจฉัยอาการของท่านได้
- เพื่อช่วยให้ทราบว่าท่านต้องได้รับการดูแลรักษาจากทางบุคลากรทางการแพทย์หรือไม่
- เพื่อดูว่าความดันโลหิตของท่านในช่วงตอนกลางคืนเป็นอย่างไร
ต้องทำอย่างไรบ้าง
ในการที่จะทำให้ตัวเครื่องทำงานอย่างถูกต้อง คุณต้องทำการเช็คให้มั่นใจว่าสายยางที่อยู่ในตัวเครื่องไม่ได้งอ ซึ่งก่อนที่ตัวเครื่องจะทำงาน ตัวเครื่องจะทำการแจ้งเตือนให้คุณทราบก่อน และเมื่อมีการแจ้งเตือน สิ่งที่คุณควรทำคือ
- นั่งลง ถ้าเป็นไปได้
- ให้ระดับของจุดที่วัด(แขนส่วนบน) อยู่ระดับเดียวกับหัวใจ
- ไม่ขยับแขนไปมา
- ไม่คุยหรือนั่งไขว่ห้างระหว่างที่เครื่องกำลังวัด
และไม่แนะนำให้คุณวัดความดันขณะที่ขับรถอยู่
ซึ่งคลินิกอาจจะขอให้คุณจดบันทึกเวลาที่วัด, เวลาที่เข้านอน และเวลาที่ตื่นนอน หรือเวลาตอนที่รับประทานยา
สามาถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติหรือไม่?
คุณสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เนื่องจากคุณหมอต้องการข้อมูลของความดันโลหิตในแต่ละช่วงเวลาระหว่างวัน เพื่อที่จะสามารถวินิจฉัยอาการได้อย่างถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตาม ท่านไม่ควรจะออกกำลังกายหนักจนเกินไป
ต้องใส่เครื่องวัดขณะหลับหรือไม่?
ต้องใส่เครื่องวัดขณะหลับ เพื่อให้คุณหมอได้รับข้อมูลที่เพียงพอ และได้ทราบว่าความดันโลหิตในขณะหลับของท่านเป็นอย่างไร
จำเป็นต้องสวมตัวเครื่องขณะอาบน้ำไหม?
ท่านไม่จำเป็นต้องสวมตัวเครื่องขณะอาบน้ำ เนื่องจากตัวเครื่องไม่ได้ออกแบบมาเพื่อกันน้ำ เพราะฉะนั้น พยายามอย่าให้ตัวเครื่องเปียกน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเครื่องเสีย
อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านอาบน้ำเสร็จ ให้ทำการสวมเครื่องวัดความดันให้อยู่ตำแหน่งเดิมตามที่เคยสวมไว้ในตอนแรก ซึ่งถ้าคุณไม่แน่ใจว่าใส่อย่างไร ให้ถามคุณหมอหรือพยาบาลเพื่อคำแนะนำ
สามารถออกกำลังกายขณะสวมเครื่องได้ไหม?
เราไม่แนะนำให้คุณออกกำลังกายในขณะที่กำลังสวมเครื่องอยู่ แต่การเดินเร็วนั้นยังสามารถทำได้
ต้องจดไดอารี่ไว้ไหม?
เมื่อคุณหมอได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล จะเป็นการดีกว่าถ้าหากได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและครบถ้วนว่า ในช่วงระหว่างวัน มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ถึงทำให้ความดันบางช่วงสูงกว่าปกติ หรือ ต่ำกว่าปกติ
โดยในช่วงระหว่างวันคุณอาจจะต้องทำการจดบันทึกช่วงเวลาสำคัญเช่น เวลาที่คุณสูบบุหรี่, เวลาที่คุณเดินออกกำลังกาย หรือ นั่ง ฯลฯ และช่วงเวลาตอนเข้านอน – ตื่นนอน
จำเป็นต้องจดบันทึกตอนที่ทานยาไว้ไหม?
คุณหมอและพยาบาลอาจจะให้คุณทำการจดบันทึกไว้ว่าคุณได้ทานยาในช่วงเวลากี่โมง และได้ทานยาอะไรไปบ้างในปริมาณเท่าใด และอาจบันทึกอาการขณะวัด หากในกรณีที่มีอาการเจ็บปวด หรือมึนหัว)
19 มิ.ย. 2567
14 ธ.ค. 2566