Last updated: 8 พ.ค. 2567 | 235 จำนวนผู้เข้าชม |
หัวปั่น Swing Out Rotor โดยนิยามคือหัวปั่นชนิดหนึ่งที่มีรูปแบบเดียวกันทั้งหมด ซึ่งเวลาปั่นจะ โดยจะเป็นหัวปั่นที่ต้องมี Bucket มาแขวนไว้ 4 ด้าน ซึ่งจะแตกต่างจาก Fixed Angle Rotor ที่หัวปั่นจะมีการ Set up ไว้อยู่แล้ว และไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริมอย่างเช่น Bucket เข้ามา
หัวปั่น Swing Out Rotor ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
หัวปั่น Swing out rotor ประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ 1.แกนโรเตอร์ และ 2.Bucket หรือ Tube Holder (ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต)
วิธีการประกอบ Swing Out Rotor
ก็คือการประกอบแกนโรเตอร์เข้ากับแกนมอเตอร์ ด้วยการยึดน็อตเข้าด้วยกัน จากนั้นจะเป็นการนำ Bucket หรือ Tube Holder มาแขวนกับตัวโรเตอร์ก็จะเป็นอันเสร็จสิ้น
หัวปั่น Swing Out Rotor มี Bucket กี่แบบ ?
หัวปั่นแบบ Swing Out Rotor จะมีรูปมีความหลากหลายในเรื่องของ Bucket ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต ซึ่ง Bucket จะมีตั้งแต่ที่สามารถจุขวดขนาดใหญ่ได้ อย่าง 50ml หรือ 100ml ขึ้นไป จนไปถึง Bucket ที่มีความจุหลอดขนาดเล็กลงมา เช่น Bucket สำหรับ 10 ml, 15 ml ฯลฯ
รูปด้านล่างเป็นตัวอย่างของรูปหัวปั่น Swing Out Rotor แบบสำเร็จรูป ที่มีการแขวน Bucket / Tube Holder ไว้เรียบร้อยแล้ว
เลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน ?
ก่อนอื่นต้องดูว่ามีการใช้งานจริงด้วยหลอดความจุเท่าใด หากปกติท่านใช้หลอดที่มีความจุ 15 ml และต้องมีการปั่นในจำนวนมาก ๆ ในทีเดียว ก็ต้องทำการเลือกแบบ Bucket ที่สามารถจุหลอด 15 ml ได้ อย่างไรก็ตาม หากท่านต้องการความหลากหลาย ต้องการ Bucket ที่สามารถจุได้ทั้ง 50 ml และ 15 ml ในเครื่องเดียว ก็จะสามารถทำได้เช่นกันในบางรุ่น เช่น ผู้ใช้งานอาจเลือก Bucket 50 ml และซื้อ Adaptor สำหรับที่ใส่หลอด 15 ml ได้ ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนขนาดของหลอดทดลอง เป็นต้น วิธีนี้ก็จะช่วยประหยัดงบให้กับผู้ใช้งาน แต่อาจจะมีภาระที่เพิ่มขึ้นมาในกรณีที่ต้องเปลี่ยนหลอดทดลองไปมาต่อเนื่องระหว่างวัน
รู้ได้อย่างไรว่าหลอดทดลองที่ใช้อยู่ สามารถใส่ใน Bucket ได้?
วิธีที่ชัวร์ที่สุดคือการวัด กว้างxยาวxสูง ของหลอดทดลอง และเทียบกับในสเป็ค เพื่อเทียบกันว่า Bucket มีขนาดใหญ่เพียงพอหรือไม่
สำหรับท่านที่มีการใช้เครื่องปั่นเลือดเพื่อใช้ในงาน PRP อยู่ ก็จะมีหลอดทดลองที่หลากหลาย โดยหากเป็น PRP Kits ก็จะต้องมี Bucket มีสามารถจุได้ขนาดที่ใหญ่กว่าปกติ เนื่องจาก PRP Kits จะมีลักษณะที่แตกต่างกันบ้างก็จะเป็นทรงกระบอก, ทรง Syringe ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิตนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้ส่วนมากไม่สามารถใส่ใน Bucket ขนาดทั่วไป (10 ml) ได้
ดูแลหัวปั่น Swing Out Rotor ยากกว่า Fixed Angle Rotor หรือไม่?
การดูแลเครื่องปั่นแบบ Swing Out Rotor จะยากกว่า Fixed Angle Rotor เล็กน้อย เพราะว่าต้องถอด Bucket ออกมาทำความสะอาด ในขณะที่หัวปั่นแบบ Fixed Angle Rotor สามารถทำความสะอาดได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องถอดออกมา (ยกเว้นว่าหากมีจุดที่สกปรกมากแล้วทำความสะอาดไม่ถึง อาจต้องถอดออกมาทำความสะอาดข้องนอกเครื่องบ้าง ในบางครั้ง)
หัวปั่น Swing out rotor ทำไมจึงมีราคาสูงกว่า Fixed Angle Rotor
เนื่องจากหัวปั่นแบบ Swing Out Rotor จะมีตัวเลือกให้เลือกมากกว่า นอกจากนี้ตัวเลือกยังมีความจุที่สามารถจุจำนวนหลอดได้เยอะกว่า รวมถึงสามารถจุที่มีปริมาตรมากกว่าได้อีกด้วย เช่น Bucket สำหรับ 50ml, 250ml ฯลฯ จึงทำให้มีราคาที่สูงกว่า
สรุป
หัวปั่นแบบ Swing Out Rotor จะประกอบไปด้วยแกนโรเตอร์และ Bucket โดยแต่ละ Bucket ก็จะมีการออกแบบที่แตกต่างกัน ตั้งแต่สามารถจุได้ในปริมาณที่น้อยไปถึงที่สามารถจุได้ปริมาณมาก ๆ ขึ้นอยู่กับว่าต้องการใช้ปั่นด้วยหลอดทดลองประเภทใด หากเป็นการปั่นเพื่อจุดประสงค์ทั่วไป โดยมากจะใช้เป็นหลอดเก็บเลือดแบบ 13x75mm หรือ 13x100 mm แต่หากเป็นการปั่นเพื่อจุดประสงค์ที่เจาะจึงขึ้นมาอย่างเช่นการปั่นเพื่อแยก PRP สำหรับใช้ในการเสริมความงาม (เพิ่มความอ่อนวัย) หรือสำหรับใช้ในการช่วยเร่งการฟื้นฟูจากอาการบาดเจ็บในส่วนนั้นให้เร็วขึ้น ส่วนใหญ่ก็จะใช้หลอดเก็บเลือดเป็นแบบหลอด PRP Kits ที่จะต้องใช้ Bucket ที่มีความจุมากกว่าขนาด 10ml เช่นขนาด 50ml เป็นต้น
ดังนั้น เวลาที่ตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปั่นเลือดแบบหัวปั่น Swing Out Rotor ควรมีการปรึกษากับผู้จัดจำหน่ายอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถใช้งานได้กับหลอดทดลองที่มี โดยหากไม่มั่นใจ อาจลองวัดขนาดของหลอดทดลองที่มีอยู่ (กว้างxยาวxสูง) แล้วส่งต่อให้กับผู้จัดจำหน่ายเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลต่อไปว่ามีเครื่องปั่นเลือดชนิดใดที่สามารถรองรับการปั่นกับหลอดทดลองขนาดดังกล่าวได้บ้าง
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หากท่านใดสนใจเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) สามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge)
หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter
30 พ.ค. 2567
28 พ.ค. 2567
20 ธ.ค. 2566
20 มี.ค. 2566