ข้อควรระวังสำหรับผู้สูบบุหรี่ ที่ใช้เครื่องวัดค่าความอิ่มตัวอ๊อกซิเจนควรรู้!

Last updated: 7 มี.ค. 2567  |  346 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ตรวจค่าอ๊อกซิเจนสำหรับผู้สูบบุหรี่

หลักการทำงานของเครื่องวัดค่าความอิ่มตัวอ๊อกซิเจน
ก่อนที่จะเข้าถึงเนื้อหา จะต้องเข้าใจถึงหลักการการทำงานของตัวเครื่องวัดความอิ่มตัวของอ๊อกซิเจนก่อน ซึ่งหลักการก็คือการที่ผู้ใช้งานนำเครื่องวัดความอิ่มตัวอ๊อกซิเจนหนีบเข้ากับปลายนิ้วและเครื่องจะทำการปล่อยแสผ่านผิวหนังเข้าไปในเลือดเพื่อเช็คสีของเลือด โดยเลือดในมนุษย์จะมี ”ฮีโมโกลบิน”ที่มีหน้าที่ในการกักเก็บและลำเลียงอ๊อกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งฮีโมโกลบินจะมีการเปลี่ยนแปลงสีเมื่อมีการจับตัวกับอ๊อกซิเจน ดังนั้นการเช็คสีของเลือดจะช่วยให้สามารถประเมิน % ของฮีโมโกลบินที่ผูกกับอ๊อกซิเจน


ทำไมต้องรู้หลักการทำงานของเครื่องก่อน ทำไมถึงไม่สามารถอ่านค่าได้เลย ?
หลายท่านที่สูบบุหรี่และวัดค่าความอิ่มตัวของอ๊อกซิเจนในเลือด อาจสังเกตุได้ว่า มีค่าความอิ่มตัวของอ๊อกซิเจนในเลือดที่ค่อนข้างดี ไม่มีความผิดปกติ ซึ่งถือเป็นความเข้าใจที่ผิด หรืออาจคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง จากที่อธิบายข้างต้นถึงหลักการการทำงานของเครื่องวัดความอิ่มตัวของอ๊อกซิเจนในเลือด ว่าเครื่องได้มีการปล่อยแสงเพื่อตรวจจับสีของเลือด โดยมีพระเอกคือฮีโมโกลบินที่จับตัวกับอ๊อกซิเจนและจะเปลี่ยนสี การสูบบุหรี่จะทำให้ท่านได้รับสารคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ทำให้ผู้สูบบุหรี่จะมีอ๊อกซิเจนในเลือดที่ลดลง แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านต้องรู้คือคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เข้ามาในร่างกาย ก็จะถูกจับตัวกับฮีโมโกลบิน เช่นเดียวกับที่จับตัวกับอ๊อกซิเจน 

Carbon monoxide + Hemoglobin = Hemoglobin เปลี่ยนสี
Oxygen + Hemoglobin = Hemoglobin เปลี่ยนสี



เมื่อมีการจับตัวกันระหว่าง Carbon monoxide และ Oxygen ฮีโมโกลบินก็จะมีการเปลี่ยนสี ไม่ต่างกับ Oxygen ที่จับตัวกับ Hemoglobin และที่น่าสนใจคือ การจับตัวกันระหว่างคาร์บอนมอนอกไซด์กับฮีโมโกลบินจะมีการจับตัวที่แน่นกว่าอ๊อกซิเจนกับฮีโมโกลบินเสียอีก ดังนั้นจากหลักการการทำงานของเครื่องวัดค่าอ๊อกซิเจนที่ใช้แสงในการตรวจจับฮีโมโกลบินในเลือดก็จะมีค่าไม่ต่างจากเดิมหรือแม้กระทั้งอาจมากกว่าเดิมก็เป็นได้ 

สรุป

หากสรุปให้เห็นภาพง่าย ๆ หากวัดครั้งแรกได้มีค่าอ๊อกซิเจนในเลือด 96% จากนั้นได้ทำการสูบบุหรี่และมาการมาวัดใหม่อีกครั้ง ในการวัดรอบหลัง ค่าอ๊อกซิเจนในเลือดโดยเครื่องตรวจวัดค่าความอิ่มตัวของอ๊อกซิเจนในเลือดก็จะมีไม่ต่างจากเดิมมากนัก อาจเป็น 96-97% แต่สิ่งที่ต่างคือ 96% ในการวัดครั้งแรก เป็น96% ที่มีแต่อ๊อกซิเจน แต่ในการวัดครั้งหลัง 96-97% ที่วัดอาจแบ่งได้เป็น 81% ที่เป็นอ๊อกซิเจน และ 15% เป็นคาร์บอนมอนอกไซด์ จะเห็นได้ว่า ค่าที่ได้ออกมาถึงแม้จะได้ผลตามที่เห็น แต่หากมองลึกลงไปในรายละเอียด จะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้