White coat syndrome โรคกลัวหมอ ความดันขึ้น

Last updated: 24 พ.ย. 2565  |  2486 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Doctor lost his mind

White Coat Hypertension หรือ White Coat Syndrome

White Coat Syndrome สามารถแปลตรงตัวได้เลยคืออาการกลัวชุดขาว (บุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นคุณหมอหรือคุณพยาบาล)

คืออาการที่ผู้วัดความดันมีความดันที่สูงกว่าปกติโดยอาจเกิดจากการที่พบเจอกับบุคลากรทางแพทย์ไม่ว่าจะเป็นคุณหมอหรือคุณพยาบาล หรือเป็นไปได้เช่นกันที่เกิดจากการมาในโรงพยาบาลซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย และทำให้ผู้เข้ารับการรักษาเกิดอาการประหม่าได้

ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นก็ถือไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะว่าคนแต่ละคนมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน จึงไม่ใช่เรื่องที่แปลกนัก แต่คำถามสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ อาการดังกล่าวสามารถส่งผลให้ผู้วัดเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้หรือไม่?

ในช่วงแรก บุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่ได้คิดว่าอาการ White Coat Syndrome จะเป็นสิ่งที่น่ากังวลนัก เนื่องจากผู้ที่มีอาการดังกล่าวมักไม่ได้มีความดันสูงเวลาวัดความดันที่บ้าน แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่คิดแบบเดียวกัน เพราะได้มีบุคลากรทางการแพทย์บางส่วนที่มองว่าอาการดังกล่าวอาจนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูงระยะยาวได้เลย ซึ่งจากงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาล่าสุดพบว่า White Coat Syndrome อาจเกิดขึ้นได้ถึง 30% ของชาวอเมริกันเลยทีเดียว ซึ่งความเสี่ยงของการเสียชีวิตนั้นเกือบจะเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้มีอาการ White Coat Syndrome

ดังนั้นเมื่อเราได้รับทราบแล้วว่าความดันโลหิตสูงที่วัดได้อาจเกิดจากอาการ White Coat Syndrome เราไม่ควรที่จะนิ่งนอนใจกับค่าความดัน

อาการของการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

1.มีอาการปวดหัว

2.หายใจลำบาก

3.มีปัญหาด้านการมองเห็น

4.เจ็บหน้าอก

5.เหงื่อออกง่าย

6.เลือดกำเดาไหล

ซึ่งอาการดังกล่าวนอกจากจะเกิดจากความดันโลหิตสูงได้แล้ว ยังสามารถเกิดจากปัจจัยอื่นได้อีกด้วย ดังนั้นเพื่อความสบายใจของตัวท่านเอง รวมถึงครอบครัว ท่านควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการเพิ่มเติม

 ปัจจัยใดที่ส่งผลให้ค่าความดันสูง?

1.ความเครียด, นอนหลับไม่เพียงพอ

2.ทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีรสจัด เค็ม และอาหารมัน

3.การเจ็บปวดตามร่างกาย 

4.การใช้ยาลดน้ำมูก, ยาแก้ปวด บางชนิด อาจส่งผลต่อความดันได้ 

แนวทางการรักษา ควบคุม ไม่ให้เกิดความดันโลหิตสูง 

1.หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายกลับไปอยู่ในดัชนีมวลกาย (BMI) ที่เหมาะสม นั่นก็คือช่วงระหว่าง 18-25

2.งดการสูบบุหรี่

3.เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ งดทานของเค็มจัด เนื่องจากโซเดียม

4.ลดหรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


สรุป

เมื่อมีอาการที่รู้สึกถึงความไม่ชอบมาพากล เราควรจะไปพบแพทย์เพื่อให้คุณหมอได้วินิจฉัยอาการได้อย่างถูกต้อง เพราะอาการที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ จึงเป็น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้