ค่าความดันไม่คงที่ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

Last updated: 24 พ.ย. 2565  |  1283 จำนวนผู้เข้าชม  | 

DC

ทำไมค่าความดันถึงไม่ปกติ ?

ผมเชื่อว่าท่านที่กำลังอ่านอยู่คงเคยเจอปัญหาแบบเดียวกัน ที่เวลาวัดความดันออกมาแล้ว ค่าไม่ค่อยคงที่ บ้างก็สูงไป บ้างก็ต่ำไป ซึ่งสาเหตุนั้นอาจเกิดมาได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยเราคงไม่สามารถจะเจาะจงได้เลยว่าที่ค่าความดันไม่คงที่นั้นเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง เนื่องจากปัจจัยที่ส่งผลถึงความเพี้ยนของค่าความดันนั้นมีหลายปัจจัย

ซึ่งเราควรแบ่งปัจจัยออกเป็นประเภท เพื่อให้ง่ายขึ้นสำหรับการหาต้นตอของสาเหตุ โดยประเภทของปัจจัยแบ่งเป็น


เกิดจากความผิดปกติของสภาพร่างกายขณะวัด หรือจัดระเบียบร่างกายไม่ถูกท่า

เกิดจากการวางตำแหน่งแขนที่ผิดพลาด

กรณีที่ผู้วัด วัดผ่านเครื่องวัดความดันโลหิตแบบสอดแขน โดยทั่วไปของเครื่องชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดก็ตาม ผู้ใช้งานจะต้องสอดแขนเข้าไปจนสุด และทำการวางศอกลงไปตรงที่วางศอกและทำการหงายมือขึ้น (ห้ามเกร็งแขน) และทำการกดปุ่ม Start

โดยการวางแขนผิดท่า นอกจากจะได้ค่าความดันที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้ว อาจจะทำให้แขนได้รับบาดเจ็บอีกด้วย


ขณะที่วัดความดันมีการขยับร่างกายหรือมีการพูด

โดยลักษณะทั่วไปของการวัดความดัน ผู้วัดควรจะอยู่ในท่าที่นั่งตัวตรง ไม่ขยับร่างกายและไม่พูดขณะกำลังวัด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่ค่าความดันที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง


มีการทำกิจกรรรมที่ต้องใช้แรงหรือพละกำลัง ก่อนที่จะทำการวัดความดัน

ในการวัดความดัน ผู้วัดจะต้องอยู่ในสภาวะปกติ ที่ไม่เหนื่อยหอบ เช่น อาจเกิดจากการเดินจากที่จอดรถเพื่อมาที่ตึกตรวจความดัน หรือจากสาเหตุใดก็ตาม เนื่องจากถ้าผู้วัดอยู่ในสภาพที่ไม่ใช่ในสภาวะปกติ ค่าที่วัดออกมาได้ย่อมผิดเพี้ยนไปจากค่าปกติที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว และจะไม่สะท้อนถึงค่าที่ควรจะเป็นจริง ๆ

ในกรณีนี้ ผู้วัดควรจะต้องทำการนั่งพัก 10-15 นาที เพื่อให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติ จึงทำการวัดความดันอีกครั้ง



เกิดจากโรคประจำตัวของผู้วัด

ผู้วัดอาจจะมีโรคประจำตัวที่ทำให้ความดันสูงอยู่แล้ว เช่น โรคความดันสูง ฯลฯ


White Coat Hypertension (โรคกลัวหมอ)

เป็นอาการของคนที่มีความดันโลหิตปกติตอนที่วัดที่บ้าน แต่กลับมีความดันโลหิตสูงตอนที่วัดกับคุณหมอหรือพยาบาล ที่โรงพยาบาล

 

จากปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการที่ค่าความดันไม่คงที่ อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุมาก ซึ่งเราคงไม่สามารถวินิจฉัยด้วยตัวเองได้ ดังนั้นเราควรให้งานนี้เป็นของบุคลากรทางการแพทย์ที่จะวินิจฉัยอาการให้เรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้