Last updated: 28 พ.ค. 2567 | 1279 จำนวนผู้เข้าชม |
เครื่องปั่นเหวี่ยนตกตะกอน / เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge)
คือเครื่องมือแพทย์ที่ใช้งานในโรงพยาบาล, คลินิก หรือแล็บ ฯลฯ โดยความสามารถของตัวเครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอนคือสามารถปั่นเหวี่ยงได้ โดยความสามารถที่จะปั่นได้ด้วยความเร็วสูงหรือต่ำขึ้นอยู่ชนิดของหัวปั่นและการออกแบบของผู้ผลิต
เครื่องปั่นเหวี่ยงมีจุดประสงค์เพื่อนำตัวอย่างที่ต้องการนำไปวิเคราะห์ต่อมาทำการปั่นเหวี่ยงเพื่อทำการแยกชั้นตัวอย่าง ให้ชั้นที่มีความหนาแน่นหรือมีน้ำหนักที่เยอะกว่าตกตะกอนไปอยู่ข้างล่าง และชั้นด้านบนก็จะเป็นชั้นที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าหรือน้ำหนักเบากว่า
ตัวอย่างประเภทใดบ้างที่ใช้กับเครื่องปั่นเหวี่ยง
เครื่องปั่นเหวี่ยงสามารถปั่นเหวี่ยงตัวอย่างประเภทเลือด, ปัสสาวะ, ชิ้นเนื้อ หรือน้ำเชื้อได้ ซึ่งจุดประสงค์ในการปั่นก็จะมีความแตกต่างกันไปตามงานนั้น ๆ
ประเภทของหัวปั่น
หัวปั่นของเครื่องปั่นเหวี่ยงสามารถจำแนกออกได้หลายประเภท โดยหากเราจำแนกประเภทด้วยองศาในการปั่นเหวี่ยง จะสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.หัวปั่นแบบ Fixed Angle Rotor
Fixed Angle Rotor คือ หัวปั่นที่ใช้ร่วมกับเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) โดยเป็นหัวปั่นชนิดที่มีมุมคงที่ในการปั่นตั้งแต่เริ่มต้นจนหยุด (อยู่ที่ 25-40 องศา ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต) ซึ่งจะสามารถพบได้บ่อยกว่าหัวปั่นแบบ Swing Out Rotor เนื่องจากราคาที่ถูกกว่า แต่ถึงแม้จะถูกกว่าก็ยังสามารถปั่นเหวี่ยงตัวอย่างได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ (โดยราคาที่สูงกว่าของ Swing Out Rotor อาจแบ่งออกได้เป็นหลายปัจจัย เช่น จำนวนความจุหลอดตัวอย่างที่สามารถจุได้มากกว่า เป็นต้น)
2.หัวปั่นแบบ Swing Out Rotor
เป็นหัวปั่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์เนื่องจากว่า ในขณะที่ปั่น Swing Out Rotor ตัว Bucket ที่แขวนอยู่กับตัว Rotor จะถูกเหวี่ยงจนอยู่ในแนวนอน
หัวปั่นสามารถเปลี่ยนแปลงกันได้หรือไม่ ?
หัวปั่นจะสามารถเปลี่ยนได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต หากหัวปั่นมีขนาดที่ใกล้เคียงกันและมีวิธีการติดตั้งที่เหมือนกัน ก็อาจจะใช้ด้วยกันได้ ทั้งนี้ ในบางแบรนด์ จะมีการออกแบบมาให้มี Sensor ตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Rotor recognition sensor ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบที่กำลังสวมใส่อยู่ในเครื่อง ซึ่งโดยทั่วไปมีไว้เพื่อจำกัดความเร็วรอบ ให้เหมาะสมกับหัวปั่น
แต่ในบางครั้ง Sensor ดังกล่าว มีไว้เพื่อล็อคหัวปั่นที่สามารถใช้งานได้กับเครื่องตัวนี้ให้ได้แค่หัวปั่นชนิดเดียว หากใส่หัวปั่นตัวอื่น Sensor จะทำการล็อคไม่ให้เครื่องสามารถทำงานได้
โดยสรุป หากท่านต้องการความชัวร์ แนะนำให้ถามทางผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายจากผู้ผลิต เพื่อข้อมูลที่ถูกต้อง โดยท่านไม่ควรเปลี่ยนหัวปั่นโดยที่ไม่ปรึกษากับทางตัวแทนจำหน่ายก่อน เนื่องจากหากเป็นหัวปั่นที่ไม่สามารถใช้ด้วยกันกับตัวเครื่องได้ เครื่องอาจจะมีปัญหาภายหลัง เช่น หัวปั่นแตก, แกนมอเตอร์เบี้ยว ฯลฯ
สามารถตั้งค่าความเร็วรอบได้สูงสุดเท่าไหร่ และตั้งค่าที่กี่รอบต่อนาที (RPM)?
สำหรับความสมรรถภาพในการตั้งค่าของเครื่องปั่นเหวี่ยงในแต่ละชนิดจะมีความยืดหยุ่นของเรื่องความเร็วที่สูงและต่ำที่แตกต่างกัน สำหรับเครื่องปั่นฮีมาโตคริต ที่มีไว้เพื่องานปั่นหาค่าฮีมาโตคริต เครื่องจะต้องมีความเร็วสูงสุดอย่างน้อย 12000 รอบต่อนาที เพื่อที่จะสามารถปั่นเหวี่ยงและได้ค่าฮีมาโตคริตออกมาได้
อย่างไรก็ตามสำหรับงานปั่นตกตะกอนทั่วไป ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปั่นด้วยความเร็วสูงถึง 12000 รอบต่อนาที จึงทำให้เครื่องปั่นตกตะกอนทั่วไปมีความเร็วรอบสูงสุดอยู่ที่ 4000-6000 รอบต่อนาที
เครื่องปั่นเหวี่ยงที่ใช้สำหรับงาน Cross matching หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องปั่นล้างเซลล์ (Cell Washing Centrifuge, Serofuge) มีความเร็วรอบสูงสุดอยู่ที่ 3500-4000 รอบต่อนาที
และในการใช้งานจริง ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องตั้งค่าความเร็วรอบไว้ที่สูงสุดตามสมรรถภาพของตัวเครื่อง ซึ่งความเร็วรอบที่ใช้ก็จะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการปั่นเหวี่ยง
ต้องทำให้เครื่องปั่นสมดุลอยู่เสมอ
ในการใส่หลอดตัวอย่างลงในหัวปั่น ผู้ใช้งานต้องคำนึงเสมอว่า ต้องใส่หลอดที่มีน้ำหนักเท่ากันในฝั่งตรงข้ามเสมอ เพื่อให้เกิดความสมดุลกัน โดยหากมีการปั่นเหวี่ยงโดยที่ไม่เกิดการสมดุลกัน จะทำให้ตัวเครื่องปั่นเหวี่ยงสั่น และอาจเกิดอันตรายต่อทั้งตัวผู้ใช้งานและตัวเครื่องได้
อย่างไรก็ตาม ตัวเครื่องปั่นเหวี่ยงส่วนใหญ่จะมี Feature ที่รักษาความปลอดภัย ในส่วนนี้ คือเครื่องจะหยุดการทำงานหากมีการสั่นสะเทือนเกิดขึ้น (ปั่นโดยไม่สมดุล) ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้โดยที่ไม่ต้องกังวลใจในส่วนนี้
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หากท่านใดสนใจเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) สามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge)
หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter