ทำไมคลินิกจึงนิยมหัวปั่นแบบ Swing Out Rotor มากกว่า Fixed Angle Rotor ในเครื่องปั่นเลือดงาน PRP ?

Last updated: 24 พ.ค. 2567  |  536 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Fixed Angle และ Swing Out Rotor

ทำไมคลินิกจึงนิยมหัวปั่นแบบ Swing Out Rotor มากกว่า Fixed Angle Rotor ในเครื่องปั่นเลือดงาน PRP ?

ในการปั่นเหวี่ยงเลือดเพื่อให้ได้ Layer ของ PRP ถือว่าสามารถทำได้ทั้งหัวปั่นแบบ Fixed Angle Rotor และแบบ Swing Out Rotor อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ที่ได้จากการปั่นจะมีความแตกต่างกัน เพราะว่าหัวปั่นแบบ Fixed Angle Rotor จะเป็นหัวปั่นที่มีการ Fixed องศาในการปั่นเอาไว้ให้คงเดิมตลอด (ซึ่งกี่องศาก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละแบรนด์ โดยในแต่ละแบรนด์ก็จะมีองศาที่แตกต่างกัน แต่โดยมากจะอยู่ราวๆ 45 องศา) ในขณะที่หัวปั่นแบบ Swing out Rotor จะเริ่มต้นด้วยการที่หลอดตัวอย่างอยู่ในลักษณะแนวตั้ง 90 องศา แต่ในขณะปั่น หลอดตัวอย่างจะอยู่ในแนวนอน จึงทำให้ Layer ที่ออกมาจะดูมีระเบียบมากกว่า และทำให้ง่ายต่อการดูด PRP ออกจาก Tube 

 




ขนาดความจุของหัวปั่น

 



สำหรับการปั่นเลือดในงาน PRP ผู้ใช้งานจะมีการใช้งานหลอดเก็บเลือดแบบ PRP ที่ถูกออกแบบมาสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ ซึ่งหลอดเก็บเลือดแบบ PRP ในแต่ละยี่ห้อก็จะมีขนาดที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ขนาดเล็กเทียบเท่ากับหลอดเก็บเลือดขนาดทั่วไป (13x100 mm) จนถึงขนาดใหญ่ ที่หัวปั่นแบบ Fixed Angle Rotor จะไม่สามารถใส่ได้

และนี่ก็คือความสำคัญอย่างมากของหัวปั่นแบบ Swing Out Rotor ที่ถูกออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่น และมีความหลากหลายให้เลือกมาก ดังนั้น หากผู้ใช้งานต้องการใช้หลอดเก็บเลือด PRP ที่ท่านชื่นชอบ (ที่มีขนาดใหญ่กว่าหลอดเก็บเลือดทั่วไป) ท่านจะต้องเลือกหัวปั่นที่มีช่องปั่นที่มีรัศมีกว้างกว่าปกติ (ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นหัวปั่นแบบ Swing Out Rotor ที่มาในรูปแบบ Bucket) เพื่อให้ท่านสามารถใส่หลอดเก็บเลือด PRP ได้


PRP หลังจากที่ถูกปั่นออกมาแล้ว Fixed Angle Rotor VS Swing Out Rotor
 



จากรูปจะสังเกตได้ว่าหากท่านปั่นเลือดด้วยหัวปั่นแบบ Fixed Angle Rotor เลือดที่ถูกแยกชั้นออกมาจะออกมาในลักษณะที่เอียง ในขณะที่เลือดที่ถูกแยกชั้นออกมาสำหรับหัวปั่นแบบ Swing Out Rotor จะมีลักษณะที่เรียงกันเป็นระเบียบและสามารถดูดเอาส่วนที่ต้องการเช่น PRP ออกมาได้ง่ายกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หัวปั่นแบบ Swing Out Rotor จึงมีความเหมาะสมที่จะมาใช้ในงาน PRP มากกว่า

 


แต่ถึงแม้ว่าเครื่องปั่นเลือดแบบหัวปั่น Swing Out Rotor จะมีความนิยมมากกว่าแบบหัวปั่น Fixed Angle Rotor ก็ไม่ได้หมายความว่าท่านจะไม่สามารถใช้งานหัวปั่นแบบ Fixed Angle Rotor ในงาน PRP ได้ โดยคำถามหลักที่ท่านต้องให้คำตอบก็คือ

“หลอดเก็บเลือด PRP ที่ท่านใช้งานอยู่หรือสนใจที่จะใช้งาน มีขนาด Dimension เล็กกว่า ช่องในหัวปั่นหรือไม่ ?”

ถ้าเล็กกว่า สามารถใช้งานได้ แต่ถ้าใหญ่กว่า หลอดจะไม่สามารถถูกใส่เข้าไปในช่องได้ จึงต้องหาหัวปั่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่มากกว่าขนาดหลอด

อย่างไรก็ตามความสูงของหลอด PRP ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากว่าหลอดเก็บ PPR มีขนาดที่เตี้ยเกินไป จะทำให้หลอดจม และทำให้ลำบากในการหยิบหลอดขึ้นมาหลังจากที่ทำการปั่นเหวี่ยงเสร็จ โดยทางแก้ก็คือโดยส่วนใหญ่ทางผู้ผลิตจะออกแบบ Tube Adapter หรือ ที่หนุนหลอด เพื่อทำให้เมื่อใส่หลอดทดลองเข้าไปแล้ว จะมีความสูงพอดี

 


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หากท่านใดสนใจเครื่องปั่นเลือด PRP (Centrifuge) สามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge)
หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้