เทคนิคการใช้งานเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) อย่างปลอดภัย

Last updated: 11 มี.ค. 2567  |  1528 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สอบเทียบ Calibration



1. ทำความคุ้นเคยกับเครื่องปั่นเลือด

ก่อนใช้งานเครื่องปั่นเลือด เป็นสิ่งสำคัญที่ท่านควรทำความเข้าใจหลักการทำงานของเครื่องและอ่านคู่มือจากผู้ผลิตให้เข้าใจ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้สามารถรับมือกับปัญหาได้อย่าง


2. ตำแหน่งที่ติดตั้งเครื่องปั่นเลือด

ควรหาตำแหน่งการติดตั้ง (โต๊ะ) ที่มีพื้นผิวเรียบ ไม่ขรุขระ และเป็นที่ที่อากาศถ่ายเท


3. การตรวจเช็คและดูแลรักษา



การตรวจเช็คเครื่องปั่นเลือดอย่างเป็นประจำถือเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการเช็คความเสียหายของโครงเครื่อง, การทำงานของตัวเครื่อง ฯลฯ

นอกจากนี้การตรวจสอบหัวปั่น, ระบบปลดล็อคฝาเครื่อง ก็สำคัญเช่นกัน เนื่องจากปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นในเครื่องปั่นเลือดเป็นปัญหาที่มักแก้ปัญหาได้เบื้องต้นเลย โดยหากปล่อยปัญหาทิ้งไว้อาจจะทำให้เสียหายอย่างถาวร และทำให้อุปกรณ์ส่วนอื่นที่อยู่ใกล้เคียงเสียหายไปด้วย เช่น หากแกนมอเตอร์เกิดการคดงอ และปล่อยไว้โดยไม่แก้ปัญหา อาจทำให้ต่อไปหัวปั่น (Rotor) ที่ยึดกับมอเตอร์แตกได้

ดังนั้นควรมีการวางตาราง Maintenance เอาไว้เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องปั่นเลือดให้ได้มากขึ้น


4. เตรียมตัวอย่างเลือดให้สมดุลเพื่อป้องกันความเสียหายของตัวเครื่อง



ในการใช้งานเครื่องปั่นเลือดอย่างถูกวิธี จะต้องมีการเตรียมตัวอย่างเลือดให้มีความสมดุลกันในหัวปั่น เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนของตัวเครื่องที่อาจนำไปสู่ความเสียหายต่อตัวเครื่องได้

โดยต้องมั่นใจทุกครั้งว่าหลอดตัวอย่างที่ใส่ลงไปในหัวปั่น ให้ใส่หลอดที่มีน้ำหนักเท่ากันไว้ในตำแหน่งตรงข้ามทุกครั้งเพื่อทำให้หัวปั่นสมดุล

นอกจากนี้หากหลอดตัวอย่างที่ใส่มีฝา ก็ต้องทำการปิดฝาทุกครั้งเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของตัวอย่าง 

หากท่านต่างการอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเครื่องปั่นเลือดไม่สมดุล ด้วย 5 วิธีง่าย ๆ สามารถคลิ๊กตามลิงค์ข้างต้นได้เลยครับ
 

5. การปิดฝาหัวปั่นให้แน่น

เมื่อเราใส่หลอดตัวอย่างลงไปให้สมดุลกันแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปิดฝาหัวปิดจานปั่นให้เรียบร้อย ซึ่งต้องมั่นใจว่าฝาปิดจานปั่นลงล็อคแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ฝาหลุดขณะปั่น ซึ่งอาจจะทำให้ฝาแตกและอาจทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของตัวอย่าง


6. สวมใส่ PPE ทุกครั้ง



ทุกครั้งที่มีการใช้งานเครื่องปั่น ควรจะมีการใส่เครื่องมือ PPE ทุกครั้งเพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารตัวอย่าง ฯลฯ


7 สังเกตการณ์ขณะเครื่องกำลังปั่นอยู่

ท่านควรสังเกตเครื่องปั่นเลือดในขณะที่เครื่องปั่นกำลังทำงานอยู่ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ที่เครื่องทำงานผิดปกติเช่น เสียงดังขณะปั่น, มีเสียงการแตกของหลอดตัวอย่าง หรือมีการสั่นของเครื่อง ฯลฯ ท่านจะสามารถกด Stop เพื่อหยุดการทำงานของเครื่องและประเมิณต่อไปว่าสาเหตุที่เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ อาจเกิดจากสาเหตุใดบ้างเพื่อจะได้แก้ไขได้อย่างตรงจุด
 

8 ศึกษาการแก้ปัญหาฉุกเฉิน อาธิ การเปิดฝาฉุกเฉิน หรือการหยุดเครื่องขณะเครื่องมีปัญหา

ในปกติของเครื่องปั่นเลือด จะมี Feature ในการเปิดฝาเครื่องปั่นฉุกเฉินในกรณีที่ไฟฟ้าใช้งานไม่ได้ ซึ่งในบางรุ่นอาจออกแบบมาโดยเจาะรูข้างเครื่อง เพื่อให้ท่านนำอุปกรณ์ที่ผู้ผลิตให้มา (แท่งเสียบ) นำมาเสียบเข้าไปในรู และเครื่องจะทำการเปิดฝา

หรือในบางรุ่นอาจจะออกแบบมาโดยมีจุกให้ดึงอยู่ข้างใต้เครื่อง เพื่อให้ท่านดึงและฝาจะทำการเปิดออก

ซึ่งหากในกรณีที่เครื่องสั่นสะเทือน, มีควัน หรือกลิ่นไหม้ออกจากตัวเครื่อง ท่านควรจะทำตามที่คู่มือบอกอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของท่านและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายของตัวเครื่อง


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หากท่านใดสนใจเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) สามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge)
หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้