Last updated: 27 มี.ค. 2566 | 1948 จำนวนผู้เข้าชม |
หมู่เลือด / หมู่โลหิต
สำหรับหมู่เลือดแบบที่เราใช้กันปกติจะเป็นแบบระบบ ABO ซึ่งจะประกอบไปด้วยกรุ๊ปเลือด A, B, AB และ O ซึ่งจะถูกส่งทอดมาจากพ่อแม่สู่รุ่นลูก และในทุกกรุ๊ปที่กล่าวมาข้างต้น สามารถถูกจำแนกเป็นแบบ Rh+ หรือ Rh- ได้อีก ดังนั้น เราจะมีอย่างน้อย 8 กรุ๊ป จากที่กล่าวข้างต้น คือ
A+
A-
B+
B-
AB+
AB-
O+
O-
Antibody และ Antigen คืออะไร?
เมื่อเรารู้จักหมู่เลือด ABO และ Rh แล้ว ประเด็นต่อมาที่ควรทราบคือ Antibody และ Antigen คืออะไร และมีบทบาทอะไร
เลือดประกอบขึ้นมาจากเซลล์เม็ดเลือดแดง, เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดในของเหลวที่เรียกว่าพลาสมา และเลือด โดยกรุ๊ปเลือดสามารถถูกแบ่งได้จากการดู Antibodies และ Antigens ในร่างกาย
Antibodies เป็นโปรตีนที่พบได้ในพลาสมา (Plasma) โดย Antibodies เป็นหนึ่งในทีมที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมที่เข้าเล็ดลอดเข้ามา เช่น เชื้อโรค ฯลฯ โดยเมื่อ Antibodies ตรวจพบสิ่งแปลกปลอม มันจะทำการส่งสัญญานให้กับระบบภูมิคุ้มกันของเราเพื่อเข้ามาจัดการสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ
Anitgens เป็นโมเลกุลโปรตีนที่พบได้พบพื้นผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดง
Antigen และ Antibody ในเลือดแต่ละกรุ๊ป
เลือดกรุ๊ป A : มี Antigen A และ มีสารต่อต้าน (Anti-B)
เลือดกรุ๊ป B : มี Antigen B และ มีสารต่อต้าน (Anti-A)
เลือดกรุ๊ป AB : มี Antigen A และ Antigen B และไม่มีสารต่อต้าน
เลือดกรุ๊ป O : ไม่มีทั้ง Antigen A และ Antigen B จึงมีสารต่อต้านทั้ง Anti-A และ Anti-B
ความเข้ากันได้ของเลือดแต่ละกรุ๊ป
เลือดกรุ๊ป A สามารถบริจาคเลือดให้กับเลือดกรุ๊ป A และ AB ได้
เลือดกรุ๊ป B สามารถบริจาคเลือดให้กับเลือดกรุ๊ป B และ AB ได้
เลือดกรุ๊ป AB สามารถบริจาคเลือดให้กับเลือดกรุ๊ป AB เท่านั้น
เลือดกรุ๊ป O สามารถบริจาคเลือดให้กับเลือดกรุ๊ป A, B, AB และ O (ได้ทุกกรุ๊ป)
หมู่โลหิต | Antigen | Antiboby | สามารถรับเลือดได้จาก | สามารถบริจาคเลือดให้กับ |
A | A | Anti-B | A, O | A |
B | B | Anti-A | B, O | B |
AB | A, B | - | A, B, AB, O | AB |
O | - | Anti-A, Anti-B | O | A, B, AB, O |
ระบบหมู่เลือด Rh
ระบบ RH เป็นระบบที่ประกอบไปด้วย Antigen 5 หลักชนิด คือ Antigen D, Antigen C, Antigen E, Antigen c, Antigen e และนอกจากนี้ยังมี Antigen อีกกว่า 46 ชนิด ที่ในบทความนี้จะไม่ได้กล่าวถึง
Antigen ตัวหลักที่เป็นตัวบ่งบอกถึงกรุ๊ปเลือดในระบบ Rh คือ Antigen D
Rh+ หมายถึงคนที่มี Antigen D ที่พื้นผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยสามารถรับเลือดได้จากทั้งชนิด Rh+ และ Rh- โดยสถิติที่ผ่านมาบ่งชี้ว่าคนไทยกว่า 99.7% มีเลือดเป็นแบบ Rh+
Rh- หมายถึงคนที่ไม่มี Antigen D ดังนั้นคือจะมี สารต่อต้าน Anti D และจึงสามารถรับได้เพียงเลือดชนิด Rh- เท่านั้น โดยจากสถิติที่ผ่านมาบ่งชี้ว่าคนไทยเพียง 0.3% ที่มีเลือดเป็นแบบ Rh- ซึ่งจัดได้ว่า เป็นกลุ่มเลือดที่หาได้ยากมาก
Antibody test
Antibody เป็นโปรตีนที่พบได้ในพลาสมา (Plasma) โดย Antibodies เป็นหนึ่งในทีมที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมที่เข้าเล็ดลอดเข้ามา เช่น เชื้อโรค ฯลฯ โดยเมื่อ Antibodies ตรวจพบสิ่งแปลกปลอม มันจะทำการส่งสัญญานให้กับระบบภูมิคุ้มกันของเราเพื่อเข้ามาจัดการสิ่งแปลกปลอม
การทดสอบ Antibodies ช่วยในการตรวจสอบการติดเชื้อย้อนหลังหรือในปัจจุบันของผู้ที่เข้ารับการตรวจ และสามารถประเมิณภาวะภูมิคุ้มกัน รวมถึงยังทดสอบความมีประสิทธิภาพของการใช้ Vaccine ได้อีกด้วย
Antigen test
Antigen เป็นโมเลกุลโปรตีนที่พบได้พบพื้นผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดง และมันทำหน้าที่ในการเตือนระบบปภูมิคุ้มกัน และนอกจากนี้มันยังถูกสร้างหรือกระตุ้นได้จากเชื้อโรค, ไวรัส หรือ แบคทีเรีย
Antigen test คือ การตรวจสอบจำนวน Antigens ในเลือด โดยการตรวจสอบจำนวน Antigens ในเลือดจะทำให้ทราบได้ว่าร่างกายได้มีการติดเชื้ออยู่หรือไม่
ข้อแตกต่างระหว่าง Antibody และ Antigen test?
หากอ่านมาถึงตรงนี้ ท่านอาจจะสงสัยได้ว่า Antibody test และ Antigen test ล้วนแล้วก็มีจุดประสงค์ในการตรวจเดียวกัน คือตรวจหาการติดเชื้อของผู้ตรวจ แล้วทำไมถึงต้องมีทั้งการตรวจแบบ Antibody และ Antigen?
โดยขออธิบายไว้แบบนี้ครับ Antibodies และ Antigens เป็นโมเลกุลโปรตีนที่ต่างกันและมีจุดประสงค์หรือหน้าที่ที่แตกต่างกันในระบบภูมิคุ้มกัน
ใน Antibodies หรือที่รู้จักกันในนาม Immunoglobulin เป็นโปรตีนที่ถูกสร้างจากระบบภูมิคุ้มกันจากการตอบสนองต่อการติดเชื้อ Antibodies จะถูกมัดกับ Antigens บนพื้นผิวของเชื้อโรค (ไวรัส หรือแบคทีเรีย) และช่วยในการปรับสภาพหรือทำลายตัวเชื้อนั้น ๆ ออกจากร่างกาย
เมื่อเราเกิดการติดเชื้อจากเชื้อโรค ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้าง Antibodies ที่ตรงชนิดกับเชื้อโรคตัวนั้น ๆ โดย Antibody test สามารถตรวจสอบจำนวน Antibodies ในร่างกาย ณ วันที่ตรวจสอบ และบ่งชี้ได้ว่าผู้ตรวจมีการติดเชื้อในช่วงที่ผ่านมานี้หรือไม่
Antigens เป็นโมเลกุลที่พบเจอได้บนพื้นผิวของเชื้อโรคและถูกตรวจพบเจอได้จากระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อเชื้อโรคได้เข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถจำเชื้อโรคตัวนั้นได้และจะปล่อย Antibodies ออกไปเพื่อปรับสภาพของเชื้อโรค หรือกำจัดทิ้ง
Antigen test มีไว้ทดสอบจำนวน Antigens ของผู้ตรวจ เพื่อใช้สังเกตว่าผู้ตรวจได้มีการติดเชื้อ ณ วันที่ตรวจหรือไม่
โดยสรุป
Cross Matching = การทดสอบความเข้ากันได้ของเลือดผู้รับและผู้ให้บริจาคเลือด
Antibody test = การทดสอบ Antibodies ของผู้รับการตรวจสอบ เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อ
19 เม.ย 2567
14 ธ.ค. 2566
19 มิ.ย. 2567
30 พ.ค. 2567