Last updated: 24 พ.ค. 2567 | 1427 จำนวนผู้เข้าชม |
เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) ดูแลรักษา Maintenance อย่างไร?
คำเตือน*** : ก่อนทำความสะอาดให้ปิดสวิทช์เครื่องรวมถึงถอดปลั๊กให้เรียบร้อยก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย
ควรสวมถุงมือตอนทำความสะอาดทุกครั้ง
สำหรับส่วนแรกที่สามารถทำความสะอาดได้ก่อน คือ
ตัวโครงเครื่องและหน้าจอเครื่อง
- นำผ้ามาทำความสะอาดฝุ่นที่เกาะอยู่รอบๆเครื่อง รวมถึงฝาและข้างใต้ของเครื่อง (ในบางยี่ห้อ ตัว Speed หรือ Tacho Sensor อาจจะอยู่ด้านล่างของตัวเครื่อง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการทำความสะอาด อาจจะทำให้ฝุ่นไปเกาะและเกิดการทำงานผิดปกติได้, ซึ่งโดยมากจะไม่ได้ร้ายแรง โดยหากเช็ดฝุ่นออกให้หมด ก็สามารถทำงานได้ตามปกติ)
- สำหรับรอยดำให้หาผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาด
ส่วนของหน้าจอ ขึ้นอยู่กับหน้าจอว่าเป็นแบบ Touch Screen หรือ Digital ทั่วไป โดยถ้าเป็นแบบ -Touch Screen ให้ทำการฉีดน้ำยาที่ใช้สำหรับจอมือถือหรือจอคอมพิวเตอร์และเช็ดด้วยผ้ากำมะหยี่ หรือถ้าเป็นหน้าจอ Digital ทั่วไปก็ทำความสะอาดตามปกติได้เลย
หัวปั่น (Rotor)
Fixed Angle Rotor & Swing Out Rotor อาจจะมีรอยหรือคราบของตัวอย่างที่เรานำมาปั่น โดยให้ฉีดแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อและทำการเช็ดด้วยผ้า (ควรเป็นที่ใช้แล้วทิ้ง เพราะว่าอาจมีเชื้อปะปนอยู่ในตัว Rotor ได้) และต้องใส่ถุงมือทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย
Hematocrit Rotor เบื้องต้นก็สามารถทำความสะอาดได้เช่นเดียวกับที่กล่าวข้างต้นสำหรับตัวของ Fixed Angle Rotor & Swing Out Rotor แต่สำหรับ Hematocrit Rotor จะมีรายละเอียดย่อยลงมาอีก คือให้เช็ดและปัดเศษฝุ่นหรือเศษแก้วของร่องใส่ Capillary เนื่องจากในบางครั้งได้มีเศษฝุ่นหรือเศษแก้วที่ได้เกาะตัวกันเป็นจำนวนมาก จนทำให้ไม่สามารถใส่ Capillary ลงไปในร่องได้ และส่งผลให้เวลาปั่นทำให้หลอด Capillary แตก เนื่องจากหลอดไม่ได้ยึดติดกับขอบยาง โดยขอบยางบางยี่ห้อที่สามารถถอดออกมาได้และสามารถใส่เข้าไปใหม่ได้อย่างไม่ยุ่งยาก ก็ควรที่จะถอดออกมาและทำความสะอาดทั้งตัวขอบยาง และร่องที่ใช้ใส่ขอบยางเช่นกัน
ห้องปั่น (Chamber)
ในส่วนของห้องปั่น ให้ทำการฉีดแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจมีการปนเปื้อนระหว่างใช้งานเครื่อง โดยทำการฉีดให้ทั่วแล้วทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วจึงสามารถทำความเช็ดทำความสะอาดได้
แกนมอเตอร์
สามารถทำได้โดยการใช้น้ำมันหล่อลื่นเพื่อช้วยให้แกนมอเตอร์ไม่ติดขัด
ข้อควรระวัง
- หากมีเศษแก้วหลอดทดลองแตก ให้นำ Forceps คีบเศษแก้วที่มีขนาดใหญ่ออกมาก่อน แล้วค่อยนำเศษแก้วที่เหลือออกโดยใช้ผ้า
ใช้กระดาษชำระซับเลือดออกและนำกระดาษที่ใช้แล้วใส่ลงไปในถุงซิปและปิดให้เรียบร้อย แล้วจึงทำการทิ้ง
เช็ดส่วนที่เปื้อนเลือดด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ
- ในกรณีที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ทั่วถึง ให้ทำการถอดชิ้นส่วนนั้นออกมาเพื่อทำความสะอาดข้างนอกตัวเครื่อง เพื่อความปลอดภัย
สิ่งที่ควรทำอยู่สม่ำเสมอเวลาที่ใช้เครื่อง
ตรวจสอบดูว่าเครื่องมีอาการผิดปกติหรือไม่ ในกรณีนี้จะหมายถึงทั้งโครงของเครื่อง, Rotor และการทำงานของตัวเครื่อง โดยหากท่านสังเกตพบว่ามีรอยร้าวที่ตัว Rotor ก็ไม่ควรเสี่ยงที่จะใช้งานต่อไป เนื่องจากมีโอกาสสูงที่ Rotor จะแตก และเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้น อาจจะทำให้ตัวมอเตอร์มีปัญหาต่ออีกด้วย
ดังนั้นหากท่านพบเจอรอยร้าว ควรส่งต่อให้ช่างดูว่าสามารถทำการซ่อมแซมได้หรือไม่ ซึ่งถ้าหากไม่สามารถซ่อมแซมได้แล้ว ควรเปลี่ยนอันใหม่เพื่อความปลอดภัย
ทำตารางสำหรับ Maintenance
ในวงการเครื่องมือแพทย์ มีอยู่หลายครั้งที่อุปกรณ์การแพทย์เกิดเสียแต่เกิดจากสาเหตุที่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ดังนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ท่านควรจะมีการ Maintenance จากผู้เชี่ยวชาญอยู่เป็นประจำ
ผลดีของการที่มีการตรวจเช็คเครื่องอยู่เป็นประจำ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนในสิ่งที่ไม่จำเป็น, ทำให้เครื่องมีระยะการใช้งานได้ยาวนานขึ้น ยังช่วยให้ผู้ใช้งานตัวเครื่องมีความปลอดภัยอีกด้วย เนื่องจากการใช้งานตัวเครื่องในขณะที่เครื่องไม่สมบูรณ์จะมีอันตรายอย่างสูง
ทำความสะอาดและหล่อลื่นตัวมอเตอร์
ที่สุดแล้ว เครื่องปั่นเลือดก็เป็นเครื่องมีแพทย์ที่ซับซ้อนและมีราคาสูง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราควรใส่ใจเรื่องเล็กน้อยที่จะสามารถทำได้เพื่อที่ทำให้ตัวเครื่องคงอยู่ในสภาพที่ดีที่สุดต่อไปได้ และการทำความสะอาดตัวเครื่องก็เป็นหนึ่งในสิ่งเล็กๆที่ท่านสามารถทำได้เพื่อให้ตัวเครื่องมีสภาพ
ศึกษาวิธีการใช้งานอย่างถูกวิธี
ผมเชื่อว่าทุกคนที่ใช้งานเครื่องปั่นเลือด Centrifuge ย่อมเข้าใจหลักการทำงานของเครื่องอยู่แล้วว่าเวลาใส่ Tube ที่บรรจุเลือดหรือปัสสาวะเข้าไป จะต้องใส่หลอดที่มีขนาดน้ำหนักเท่ากันไปในตำแหน่งตรงข้ามด้วย เพื่อให้ Rotor นั้น Balance กัน
ถึงแม้ว่าเครื่องโดยมากจะมีระบบป้องกันการปั่นแบบ Imbalance ที่จะคอยตัดการทำงานของเครื่องหากตรวจพบเจอว่า Rotor ไม่ Balance อย่างไรก็ตามทุกครั้งที่มีการปั่นแบบ Imbalance จะทำให้ Rotor สั่นโยกผิดปกติอย่างรุนแรง และหากเป็นอยู่บ่อยครั้ง อาจจะทำให้ตัวแกนมอเตอร์ผิดรูปหรือ Rotor แตก/ร้าว ได้ในที่สุด
แต่สิ่งที่น่าห่วงก็คือเป็นการที่ ในบางครั้งผู้ใช้งานอาจมีการหลงลืมในการที่จะทำให้โรเตอร์ Balance กัน จนอาจก่อให้เกิดปัญหาได้
ดังนั้นควรมีสติในการใช้งานเครื่องมือแพทย์อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือแพทย์ชนิดใด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หากท่านใดสนใจเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) สามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge)
หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter