Last updated: 11 มี.ค. 2567 | 1462 จำนวนผู้เข้าชม |
บทความนี้จะเป็นบทความที่ช่วยให้ท่านได้เข้าใจในเรื่องของปัจจัยที่ใช้ในการเลือกเครื่องปั่นเลือดให้เหมาะสมกับการใช้งาน
สำหรับเทคนิคการเลือกเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) ให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้น สามารถดูได้โดย
1.ตัวอย่างที่ต้องการจะปั่น (เลือด / ปัสสาวะ)
ในการเลือกเครื่องปั่นเลือด สิ่งแรกที่เราจะต้องรู้คือเราต้องการจะนำเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) ไปปั่นตัวอย่างอะไร ซึ่งก็อยู่ที่สายงานของแต่ละท่าน บ้างก็นำไปปั่นเลือด บ้างก็นำไปปั่นปัสสาวะ หรือแม้กระทั่งปั่นล้างเซลล์ (Serofuge) ฯลฯ
2.สิ่งที่ต้องการหลังจากการปั่น (Plasma, Serum, HCT, UA)
ในการปั่นตัวอย่าง นอกจากจะมีปัจจัยในเรื่องตัวอย่างที่ต้องการจะปั่นแล้ว ยังมีอีกปัจจัยสำคัญคือสิ่งที่ต้องการหลังจากการปั่น เช่น ในการปั่นเลือด ก็จะมีหลายวัตถุประสงค์ ตั้งแต่การปั่นหาค่าเปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดแดงอัดแน่น (HCT), ปั่นเลือดเพื่อแยกเซรั่ม (Serum) หรือ พลาสมา (Plasma) หรือปั่นล้างเซลล์ ฯลฯ ซึ่งในการปั่นที่แตกต่างกัน ในบางกรณีก็ต้องมีการใช้หัวปั่นที่แตกต่างกันไป
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการปั่นหาเปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดแดงอัดแน่น (HCT) ก็จะต้องนำตัวอย่างเลือดใส่ในหลอด Capillary และหาหัวปั่นสำหรับใส่หลอด Capillary มาใช้ หรือถ้าต้องปั่นปัสสาวะก็จะต้องใช้หัวปั่นอีกชนิดไปเลย เป็นต้น
3.จำนวนตัวอย่างในการปั่น (Fixed Angle Rotor or Swing Out Rotor)
จำนวนตัวอย่างในแต่ละวันก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ หากว่าเราพอประมาณการจำนวนในแต่ละวันที่จะต้องทำการปั่นได้ เราจะสามารถเลือกหัวปั่นได้ถูกต้อง เนื่องจากหัวปั่นแต่ละตัวก็จะมีจำนวนและขนาดในการจุหลอดที่ต่างกัน และชนิดของหัวปั่นแบบ Swing out Rotor ก็จะมีจำนวนการจุหลอดที่มากกว่า Fixed Angle Rotor
4.หลอดเก็บตัวอย่างที่ตอนนี้ท่านใช้อยู่ (ขนาดของ Tube)
ในบางกรณีหลอดที่ปกติทางแล็บใช้อยู่ อาจจะใช้กับทางหัวปั่นของเครื่องนั้น ๆ ไม่ได้ เช่น หลอดปั่นเลือด 13x75 (หลอดสั้น) ที่บางที เวลาใส่ในหัวปั่น จะทำให้หลอดจม ซึ่งการดึงขึ้นมานั้นต้องใช้ที่คีบ (Forceps) ช่วย แต่หากมี Adapter ที่ช่วยทำให้หลอดอยู่สูงขึ้น ก็จะทำให้สะดวกต่อผู้ใช้งาน ในการจะหยิบหลอดตัวอย่างออกมา
5.Feature สำหรับการรักษาความปลอดภัย
ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ทั้งต่อตัวผู้ใช้งาน และต่อตัวเครื่อง โดยตัวอย่าง Feature สำคัญที่เครื่องปั่น (Centrifuge) ควรจะมี โดยตัวอย่างของ Feature สำคัญคือ
ระบบ Imbalance Sensor ที่จะช่วยให้เครื่องปั่นเลือดหยุดการทำงานหากตรวจพบการสั่นของเครื่องที่เกิดจากการใส่ตัวอย่างที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน โดยหากเครื่องไม่มีระบบนี้ และผู้ใช้งานใส่หลอดตัวอย่างไปโดยที่มีน้ำหนักไม่ Balance กัน ก็จะทำให้ตัว Motor มีปัญหาจากการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงของตัวเครื่อง
ระบบที่ออกแบบมาให้เครื่องไม่สามารถทำงานในขณะที่ฝาเปิดอยู่ได้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
ระบบการเปิดเครื่องแบบฉุกเฉิน เมื่อมีสถานการณ์ที่ทำให้ใช้ไฟฟ้าไม่ได้
6.ใช้งานง่าย
หน้าจอหากเป็นระบบ Digital ไม่ว่าจะเป็น LED หรือ LCD ก็ตาม ควรที่จะออกแบบเพื่อให้ใช้งานง่าย ไม่ควรมีระบบทีซับซ้อนจนทำให้บางทีผู้ใช้งานเกิดความสับสน รวมถึงหากตัวเครื่องมีความสามารถในการอ่านหัวปั่นได้หลายประเภท ก็ควรจะมีการติด Sticker บนตัวเครื่องให้ชัดเจนถึงหมายเลขของหัวปั่น เพราะในบางกรณีผู้ใช้งานอาจจะเปลี่ยนหัวปั่นไปโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เครื่องไม่สามารถปั่นได้ จนทำให้ผู้ใช้งานคิดว่าเครื่องมีปัญหา
หรือหากแผงหน้าปัดเป็นแบบระบบ Analog (Manual) ก็ควรจะมีวัสดุแท่งการหมุนที่แข็งแรง ไม่แตกหักง่าย
7.มีหัวปั่นที่แข็งแรง ทนทาน
หัวปั่นที่ดีควรจะเป็นหัวปั่นที่ทำจากวัสดุที่แข็งแกร่ง ทนทาน ไม่พังง่าย เนื่องจากหัวปั่นเป็นวัสดุที่สำคัญในการใช้งานเครื่องปั่นเหวี่ยง (Centrifuge) ดังนั้น หากหัวปั่นไม่ทนทาน จะทำให้ระยะการใช้งานสั้นและต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ
อย่างไรก็ตาม การที่หัวปั่นมีการแตก, หัก อาจไม่ได้เกิดจากหัวปั่นเพียงอย่างเดียว เราต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าหัวปั่นได้เข้าไปลงล๊อคกับแกนมอเตอร์แล้ว เพราะไม่เช่นนั้น หากหัวปั่นจะดีแค่ไหนแต่ถ้ามีการใส่หัวปั่นไม่ถูกต้อง ก็มีโอกาสที่จะทำให้หัวปั่นเสียหายได้เช่นกัน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หากท่านใดสนใจเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) สามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge)
หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter
30 พ.ค. 2567
20 ธ.ค. 2566
20 มี.ค. 2566
28 พ.ค. 2567